การรับซื้อไฟฟ้าจากการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา
ผู้ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าซึ่งมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า กับการไฟฟ้าแล้ว หรือเพื่อใช้ภายในอาคารหรือกิจการซึ่งไม่ได้จำหน่ายเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าสามารถยื่นเอกสารหลักฐานประกอบ การแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับได้ Online บน Website ของสำนักงาน กกพ. ส่วนกลาง หรือสำนักงาน กกพ. ประจำเขตในแต่ละพื้นที่อาคารตั้งอยู่
รายละเอียดการติดต่อ และจังหวัดที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของสำนักงาน กกพ.ประจำเขต คลิกลิงก์
ขั้นตอนการลงทะเบียนแจ้งยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต (ขั้นตอนการยื่นแจ้งยกเว้น.pdf)
1) แบบคำขอและเอกสารประกอบการยื่นขออนุญาตดัดแปลงอาคาร
- กฎกระทรวง ฉบับที่ 65 (พ.ศ.2558) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522
- ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง แนวทางการดำเนินการรับแจ้งประกอบกิจการพลังงาน ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต
- หนังสือแจ้งท้องถิ่น
- แบบสำรวจอาคาร เพื่อแจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่น
2) สำหรับบ้านอยู่อาศัย ที่ติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา ประเภทบ้านอยู่อาศัย ที่ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคาร
- แบบคำขออนุญาตดัดแปลง (ข.1)
- แบบฟอร์มสำรวจอาคาร
- Checklist เอกสาร_อ.1
- ตัวอย่างการกรอกแบบคำขอดัดแปลง ข.1 ประเภทบ้านอยู่อาศัย
- ตัวอย่างการกรอกแบบคำขอดัดแปลง ข.1 ประเภทอาคารธุรกิจและโรงงาน
- ตัวอย่างการกรอกแบบฟอร์มสำรวจอาคาร
- ขั้นตอนการลงทะเบียนขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร (อ.1)
3) แบบคำขอรับใบอนุญาตให้ผลิตพลังงานควบคุม (พค.1)
- Checklist เอกสาร_พค.2
- ตัวอย่างการกรอกแบบคำขอรับใบอนุญาตให้ผลิตพลังงานควบคุม (พค.1)
4) รายการตรวจสอบมาตรการด้านการออกแบบติดตั้งตามประมวลหลักการปฏิบัติ (Code of Practice) – ผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จากเทคโนโลยีแผงโฟโตโวลเทอิก
5) แบบแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต: ผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Rooftop PV System)
- ตัวอย่างการกรอกแบบแจ้งฯ ประเภทบ้านอยู่อาศัย
- ตัวอย่างการกรอกแบบแจ้งฯ ประเภทอาคารธุรกิจและโรงงาน
คณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการประชุมเมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๖ ได้มีมติรับทราบมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในการประชุมเมื่อวันอังคารที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๖ เห็นชอบให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Rooftop PV System) โดยมีปริมาณกำลังการผลิตติดตั้งของแผงโฟโตโวลเทอิก (Photovoltaic Panel) รวม ๒๐๐ MWp จำแนกเป็น ๑๐๐ MWp สำหรับอาคารประเภทบ้านอยู่อาศัย และอีก ๑๐๐ MWpสำหรับอาคารประเภทธุรกิจและโรงงาน ทั้งนี้ ให้มีการเริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์เข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าภายในปี ๒๕๕๖ ด้วยอัตราการรับซื้อแบบ Feed-in Tariff ระยะเวลาการสนับสนุน ๒๕ ปี
1.) ระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ว่าด้วยการรับซื้อไฟฟ้าจากการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา พ.ศ. 2556
2.) ประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เรื่องการรับซื้อไฟฟ้าจากการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา พ.ศ. 2556
3.) เอกสารแนบท้ายประกาศ กกพ.
หมายเลข 1 – แบบคำขอขายไฟฟ้าและการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า (กฟน. หรือ กฟภ.)
หมายเลข 2 – สถานที่ยื่นคำขอขายไฟฟ้าและการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า
หมายเลข 3 – ค่าใช้จ่ายในการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า การตรวจสอบระบบอุปกรณ์ และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง
หมายเลข 4 – แบบสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (กฟน. หรือ กฟภ.)
หมายเลข 5 – ข้อกำหนดคุณสมบัติของวัสดุ อุปกรณ์ และการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา
หมายเลข 6 – ข้อกำหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า (กฟน. หรือ กฟภ.)
4.) ประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เรื่องการรับซื้อไฟฟ้าจากการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)
5.) ประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เรื่องขยายระยะเวลาการรับซื้อไฟฟ้าจากการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาสำหรับบ้านอยู่อาศัย
“การขึ้นทะเบียนอินเวอร์เตอร์และเครื่องวัดคุณภาพไฟฟ้า” ของ กฟน.“แนะนำรายชื่อผู้ดำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา” โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ทะเบียนสถานะใบอนุญาตและการรับแจ้งที่เกี่ยวข้องของผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ติดตั้งบนหลังคา (Rooftop PV System) ทะเบียนสถานะใบอนุญาตและการรับแจ้งที่เกี่ยวข้องของผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Rooftop PV System) ทะเบียนสถานะใบอนุญาตและการรับแจ้งที่เกี่ยวข้องของผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Rooftop PV System)
ที่มาของนโยบายเป็นอย่างไร และมีสาระสำคัญอะไรบ้าง
- คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในการประชุมเมื่อวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม 2556 ได้มีมติเห็นชอบให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการผลิตไฟฟ้า
1. พลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Rooftop PV System) โดยมีปริมาณกำลังการผลิตติดตั้งของแผงโฟโตโวลเทอิก (Photovoltaic Panel) รวม 200 MWp จำแนกเป็น 100 MWp สำหรับอาคารประเภทบ้านอยู่อาศัย และอีก 100 MWp สำหรับอาคารประเภทธุรกิจและโรงงาน ทั้งนี้ ให้มีการเริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์เข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าภายในปี 2556 ด้วยอัตราการรับซื้อแบบ Feed-in Tariff ระยะเวลาการสนับสนุน 25 ปี ราคารับซื้อไฟฟ้ามีอัตราอย่างไร
2. จำแนกตามกลุ่มประเภทอาคารและขนาดกำลังการผลิตติดตั้งของแผงโฟโตโวลเทอิก เป็น 3 อัตราในรูปแบบ Feed-In Tariff ดังต่อไปนี้ | |||
---|---|---|---|
ลำดับ | กลุ่มประเภทอาคาร | กำลังการผลิตติดตั้ง | อัตรา (FiT) |
1 | บ้านอยู่อาศัย | ไม่เกิน 10 kWp | 6.96 บาท/หน่วย |
2 | อาคารธุรกิจขนาดเล็ก | มากกว่า 10 ถึง 250 kWp | 6.55 บาท/หน่วย |
3 | อาคารธุรกิจขนาดกลาง-ใหญ่/โรงงาน | มากกว่า 250 ถึง 1,000 kWp | 6.16 บาท/หน่วย |
รายละเอียดตามประกาศข้อ 6
3. ปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าในแต่ละพื้นที่มีสัดส่วนอย่างไร | |||
---|---|---|---|
ลำดับ | รายการ | สัดส่วน | สัดส่วน |
การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) | 40 | 40 | |
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) | 60 | 60 | |
1 | ภาคเหนือ | 15 | 15 |
เขต 1 (เชียงใหม่ 6 จังหวัด) | 5 | ||
เขต 2 (พิษณุโลก 8 จังหวัด) | 5 | ||
เขต 3 (ลพบุรี 6 จังหวัด) | 5 | ||
2 | ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 15 | 15 |
เขต 1 (อุดรธานี 8 จังหวัด) | 5 | ||
เขต 2 (อุบลราชธานี 8 จังหวัด) | 5 | ||
เขต 3 (นครราชสีมา 4 จังหวัด) | 5 | ||
3 | ภาคกลาง | 15 | 15 |
เขต 1 (พระนครศรีอยุธยา 7 จังหวัด) | 5 | ||
เขต 2 (ชลบุรี 5 จังหวัด) | 5 | ||
เขต 3 (นคปฐม 4 จังหวัด) | 5 | ||
4 | ภาคใต้ | 15 | 15 |
เขต 1 (เพชรบุรี 6 จังหวัด) | 5 | ||
เขต 2 (นครศรีธรรมราช 6 จังหวัด) | 5 | ||
เขต 3 (ยะลา 6 จังหวัด) | 5 | ||
รวมทั้งสิ้น (ภายในปี 2556) | 100 | 100 |
อย่างไรก็ตาม การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายสามารถเปลี่ยนแปลงปริมาณและจุดรับซื้อไฟฟ้าที่กำหนดข้างต้นได้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า หากมีข้อจำกัดของระบบโครงข่ายไฟฟ้า
รายละเอียดตามประกาศข้อ 1.2
รายละเอียดตามประกาศข้อ 3
รายละเอียดตามประกาศข้อ 2
การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายที่รับคำขอ | |||
---|---|---|---|
ลำดับ | พื้นที่ให้บริการไฟฟ้า | บ้านอยู่อาศัย | ธุรกิจ/โรงงาน |
1 | เหนือ | กฟภ. (เชียงใหม่/พิษณุโลก/ลพบุรี) | กฟภ. (สำนักงานใหญ่-งามวงศ์วาน) |
2 | ตะวันออกเฉียงเหนือ | กฟภ. (อุดรธานี/อุบลราชธานี/นครราชสีมา) | กฟภ. (สำนักงานใหญ่-งามวงศ์วาน) |
3 | กลาง | กฟภ. (พระนครศรีอยุธยา/ชลบุรี/นครปฐม) | กฟภ. (สำนักงานใหญ่-งามวงศ์วาน) |
4 | ใต้ | กฟภ. (เพชรบุรี/นครศรีธรรมราช/ยะลา) | กฟภ. (สำนักงานใหญ่-งามวงศ์วาน) |
5 | กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ | กฟน. (18 เขต ได้แก่ วัดเลียบ, คลองเตย, ยานนาวา, สามเสน, บางเขน, ลาดพร้าว, ธนบุรี, ราษฎร์บูรณะ, บางขุนเทียน, บางกะปี, มีนบุรี, ลาดกระบัง, ประเวศ, นนทบุรี, บางใหญ่, บางบัวทอง, สมุทรปราการ, บางพลี) | กฟน. (สำนักงานใหญ่-เพลินจิต) |
รายละเอียดตามเอกสารประกาศฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
ทั้งนี้ ก่อนวันจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date: COD) ผู้ผลิตไฟฟ้าจะต้องนำส่งสำเนาหนังสือรับแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตการประกอบกิจการพลังงานต่อการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายที่เป็นคู่สัญญาซื้อขายไฟฟ้า
รายละเอียดตามประกาศข้อ 11หมายเหตุ: ตัวเลขต่างๆ อ้างอิงจากสมมติฐานที่ใช้ในการคำนวณอัตรา FiT ซึ่งได้รับการเห็นชอบจาก กพช. เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2556 อาจแตกต่างจากข้อเท็จจริงในปัจจุบันได้
หมายเหตุ: ตัวเลขต่าง ๆ อ้างอิงจากสมมติฐานที่ใช้ในการคำนวณอัตรา FiT ซึ่งได้รับการเห็นชอบจาก กพช. เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2556 อาจแตกต่างจากข้อเท็จจริงในปัจจุบันได้