การยื่นเอกสารและหลักฐานประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Sular PV Rooftop)
ผู้ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าซึ่งมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าแล้ว หรือเพื่อใช้ภายในอาคารหรือกิจการซึ่งไม่ได้จำหน่ายเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าสามารถยื่นเอกสารหลักฐานประกอบการแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับได้ Online บน Website ของสำนักงาน กกพ. ส่วนกลางหรือสำนักงาน กกพ. ประจำเขตในแต่ละพื้นที่อาคารตั้งอยู่
รายละเอียดการติดต่อ และจังหวัดที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของสำนักงาน กกพ.ประจำเขต ขั้นตอนการลงทะเบียนแจ้งยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต (ขั้นตอนการยื่นแจ้งยกเว้น.pdf)
1. แบบคำขอและเอกสารประกอบการยื่นขออนุญาตดัดแปลงอาคาร
2. สำหรับบ้านอยู่อาศัย ที่ติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา ประเภทบ้านอยู่อาศัย ที่ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคาร
3. แบบคำขอรับใบอนุญาตให้ผลิตพลังงานควบคุม (พค.1)
4. รายการตรวจสอบมาตรการด้านการออกแบบติดตั้งตามประมวลหลักการปฏิบัติ (Code of Practice) – ผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จากเทคโนโลยีแผงโฟโตโวลเทอิก
5. แบบแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต: ผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Rooftop PV System)
คณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการประชุมเมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๖ ได้มีมติรับทราบมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในการประชุมเมื่อวันอังคารที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๖ เห็นชอบให้มีการรับซื้อไฟฟ้า จากโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Rooftop PV System) โดยมีปริมาณกำลังการผลิตติดตั้งของแผงโฟโตโวลเทอิก (Photovoltaic Panel) รวม ๒๐๐ MWp จำแนกเป็น ๑๐๐ MWp สำหรับอาคารประเภทบ้านอยู่อาศัย และอีก ๑๐๐ MWp สำหรับอาคารประเภทธุรกิจและโรงงาน ทั้งนี้ เข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าภายในปี ๒๕๕๖ ด้วยอัตราการรับซื้อแบบ Feed-in Tariff ระยะเวลาการสนับสนุน ๒๕ ปี
“การขึ้นทะเบียนอินเวอร์เตอร์และเครื่องวัดคุณภาพไฟฟ้า” ของ กฟน.
“แนะนำรายชื่อผู้ดำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา” โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
ทะเบียนสถานะใบอนุญาตและการรับแจ้งที่เกี่ยวข้องของผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ติดตั้งบนหลังคา (Rooftop PV System)
1. ที่มาของนโยบายเป็นอย่างไร และมีสาระสำคัญอะไรบ้าง
คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในการประชุมเมื่อวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม 2556 ได้มีมติเห็นชอบให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา ( Rooftop PV System) โดยมีปริมาณกำลังการผลิตติดตั้งของแผงโฟโตโวลเทอิก (Photovoltaic Panel) รวม 200 MWp จำแนกเป็น 100 MWp สำหรับอาคารประเภทบ้านอยู่อาศัย และอีก 100 MWp สำหรับอาคารประเภทธุรกิจและโรงงาน ทั้งนี้ ให้มีการเริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์เข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าภายในปี 2556 ด้วยอัตราการรับซื้อแบบ Feed-in Tariff ระยะเวลาการสนับสนุน 25 ปี
2. ราคารับซื้อไฟฟ้ามีอัตราอย่างไร
จำแนกตามกลุ่มประเภทอาคารและขนาดกำลังการผลิตติดตั้งของแผงโฟโตโวลเทอิก เป็น 3 อัตราในรูปแบบ Feed-In Tariff ดังต่อไปนี้
กลุ่มประเภทอาคาร | กำลังการผลิตติดตั้ง | อัตรา (FiT) |
---|---|---|
บ้านอยู่อาศัย | ไม่เกิน 10 kWp | 6.96 บาท/หน่วย |
อาคารธุรกิจขนาดเล็ก | มากกว่า 10 ถึง 250 kWp | 6.55 บาท/หน่วย |
อาคารธุรกิจขนาดกลาง-ใหญ่/โรงงาน | มากกว่า 250 ถึง 1,000 kWp | 6.16 บาท/หน่วย |
<รายละเอียดตามประกาศข้อ 6>
3. ปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าในแต่ละพื้นที่มีสัดส่วนอย่างไร
พื้นที่ให้บริการไฟฟ้า | ปริมาณกำลังไฟฟ้ารับซื้อ (MW) | |
---|---|---|
บ้านอยู่อาศัย | ธุรกิจ/โรงงาน | |
การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) | 40 | 40 |
ภาคเหนือ | 15 | 15 |
|
5 | |
|
5 | |
|
5 | |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 15 | 15 |
|
5 | |
|
5 | |
|
5 | |
ภาคกลาง | 15 | 15 |
|
5 | |
|
5 | |
|
5 | |
ภาคใต้ | 15 | 15 |
|
5 | |
|
5 | |
|
5 | |
รวมทั้งสิ้น (ภายในปี 2556) | 100 | 100 |
อย่างไรก็ตาม การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายสามารถเปลี่ยนแปลงปริมาณและจุดรับซื้อไฟฟ้าที่กำหนดข้างต้นได้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า หากมีข้อจำกัดของระบบโครงข่ายไฟฟ้า
<รายละเอียดตามประกาศข้อ 1.2>
4. คุณสมบัติของผู้ที่ประสงค์จะขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายคืออะไรบ้าง
<รายละเอียดตามประกาศข้อ 2>
5. ช่วงระยะเวลาการยื่นคำขอขายไฟฟ้าตั้งแต่เมื่อไหร่ถึงเมื่อไหร่
วันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2556 ถึง วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม 2556 ยกเว้นวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดทำการของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย (รวม 15 วันทำการ) ระหว่างเวลา 9.00 น. – 15.00 น. อนึ่ง ผู้ที่ประสงค์จะจำหน่ายไฟฟ้าประเภทอาคารบ้านอยู่อาศัยสามารถยื่นคำขอในแต่ละครั้งได้ไม่เกิน 10 คำขอ และประเภทอาคารธุรกิจ /โรงงานสามารถยื่นคำขอในแต่ละครั้งได้เพียง 1 คำขอ โดยการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายจะพิจารณาแบบคำขอและประกาศผลการตอบรับซื้อไฟฟ้าบน Website ของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายตั้งแต่วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม 2556 เป็นต้นไป
<รายละเอียดตามประกาศข้อ 3>
6. สามารถยื่นคำขอขายไฟฟ้าได้ที่ไหนบ้าง
ผู้ที่ประสงค์จะขายไฟฟ้าสามารถยื่นคำขอขายไฟฟ้า ณ ที่ทำการของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ตามพื้นที่รับผิดชอบซึ่งอาคาร (บ้านอยู่อาศัย อาคารธุรกิจ และโรงงาน) ที่จะติดตั้งแผงโฟโตโวลเทอิก ( Photovoltaic Panel) ตั้งอยู่ อาทิ
พื้นที่ให้บริการไฟฟ้า | การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายที่รับคำขอ | |
---|---|---|
บ้านอยู่อาศัย | ธุรกิจ/โรงงาน | |
เหนือ | กฟภ. (เชียงใหม่/พิษณุโลก/ลพบุรี) | กฟภ. (สำนักงานใหญ่-งามวงศ์วาน) |
ตะวันออกเฉียงเหนือ | กฟภ. (อุดรธานี/อุบลราชธานี/นครราชสีมา) | |
กลาง | กฟภ. (พระนครศรีอยุธยา/ชลบุรี/นครปฐม) | |
ใต้ | กฟภ. (เพชรบุรี/นครศรีธรรมราช/ยะลา) | |
กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ | กฟน. (18 เขต ได้แก่ วัดเลียบ, คลองเตย, ยานนาวา, สามเสน, บางเขน, ลาดพร้าว, ธนบุรี, ราษฎร์บูรณะ, บางขุนเทียน, บางกะปี, มีนบุรี, ลาดกระบัง, ประเวศ, นนทบุรี, บางใหญ่, บางบัวทอง, สมุทรปราการ, บางพลี) | กฟน. (สำนักงานใหญ่-เพลินจิต) |
<รายละเอียดตามเอกสารประกาศฉบับแก้ไขเพิ่มเติม>
7. มีเอกสารหลักฐานประกอบอะไรบ้าง
รายการเอกสารเป็นไปตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอจำหน่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ประกอบด้วยเอกสารทั่วไปของผู้ยื่นคำขอและเอกสารแสดงข้อมูลทางเทคนิค ตัวอย่างเช่น แผนภูมิของระบบไฟฟ้า ( Single Line Diagram) และสำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ยื่นคำขอจะต้องจัดทำเอกสารจำนวน 1 ชุด พร้อมทั้งจัดส่งเอกสารดังกล่าวในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ด้วยอีก 1 ชุด
<รายละเอียดตามเอกสารแนบท้ายประกาศหมายเลข 1>
8. จำเป็นต้องมีหลักฐานแสดงความพร้อมทางด้านการเงิน หรือวางหลักค้ำประกันด้วยหรือไม่
ไม่จำเป็นต้องมี อย่างไรก็ตาม ผู้ยื่นคำขอควรจะหาการค้ำประกันระบบผลิตไฟฟ้าจากบุคคลที่สามตามที่เหมาะสม
<รายละเอียดตามประกาศข้อ 13>
9. ขั้นตอนและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคำขอขายไฟฟ้าเป็นอย่างไร
<รายละเอียดตามประกาศข้อ 5>
10. เมื่อยื่นแบบคำขอขายไฟฟ้าแล้ว สามารถเปลี่ยนแปลงรายละเอียดต่างๆ ในแบบคำขอได้อีกหรือไม่
ห้ามมิให้เปลี่ยนแปลงข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง ปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขาย และจุดรับซื้อไฟฟ้า
<รายละเอียดตามประกาศข้อ 8>
11. มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง เป็นจำนวนเท่าไหร่
การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายจะประกาศหรือแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอที่ได้รับการตอบรับซื้อไฟฟ้าทราบรายละเอียดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าใช้จ่ายในการเชื่อมโยง/ปรับปรุงระบบไฟฟ้า และการตรวจสอบอุปกรณ์ เป็นต้น โดยผู้ยื่นคำขอจะต้องชำระค่าใช้จ่ายดังกล่าวภายระยะเวลาที่กำหนดให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มต้นจำหน่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบเชิงพาณิชย์ ( Commercial Operation Date: COD)
<รายละเอียดตามระเบียบข้อ 14, 18 และ 19 และเอกสารแนบท้ายประกาศหมายเลข 3>
12. จำเป็นต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตอะไรที่เกี่ยวข้องด้วยหรือไม่
ทั้งนี้ ก่อนวันจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date: COD) ผู้ผลิตไฟฟ้าจะต้องนำส่งสำเนาหนังสือรับแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตการประกอบกิจการพลังงานต่อการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายที่เป็นคู่สัญญาซื้อขายไฟฟ้า
<รายละเอียดตามประกาศข้อ 11>
13. มีการกำหนดคุณสมบัติของอุปกรณ์และมาตรฐานในการติดตั้งหรือไม่
มี ผู้ผลิตไฟฟ้าจะต้องติดตั้งอุปกรณ์และระบบการผลิตไฟฟ้าตามข้อกำหนดแนบท้ายประกาศและข้อกำหนดเรื่องการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าตามข้อกำหนดของการไฟฟ้า ทั้งนี้ ผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีขนาดกำลังการผลิตติดตั้งของแผงมากกว่า 250 kWp ต้องจัดหาและติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพไฟฟ้า (Power Quality Meter) ที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อกำหนดของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ณ ตำแหน่งจุดเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าด้วย
<รายละเอียดตามประกาศข้อ 12 และเอกสารแนบท้ายประกาศหมายเลข 5>
14. จะสามารถหารายชื่อผู้ที่รับติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาได้ที่ไหน
ในเบื้องต้นสามารถดูรายชื่อผู้ดําเนินการรับติดตั้งระบบซึ่งขึ้นทะเบียนแนะนำไว้กับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้บน Website ของ พพ.
<http://www.dede.go.th/dede/>15. สัญญาซื้อขายไฟฟ้ามีระยะเวลาเท่าไหร่
25 ปี นับจากกำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (Scheduled Commercial Operation Date: SCOD) ตามที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
<รายละเอียดตามประกาศข้อ 11>
16. เมื่อทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายแล้ว สามารถโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าให้ผู้อื่นได้หรือไม่
จะต้องได้รับการยินยอมจากการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายก่อนตามหลักเกณฑ์ที่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายกำหนด
17. ถ้าไม่สามารถเริ่มต้นจำหน่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าได้ตามกำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (Scheduled Commercial Operation Date: SCOD) ที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจะต้องทำอย่างไร
ก่อนพ้นกำหนด SCOD ให้ผู้ผลิตไฟฟ้ารีบแจ้งการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายเป็นลายลักษณ์อักษรแสดงความพร้อมในด้านต่างๆ ได้แก่ แหล่งเงินทุนและความคืบหน้าของการออกแบบ/ติดตั้งระบบ รวมถึงสถานะของการขอใบอนุญาตต่างๆ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หากการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายพิจารณาแล้วไม่ขัดข้องอาจให้เลื่อน SCOD ออกไปได้แค่ 1 ครั้ง ตามระยะเวลาอันควรแต่ไม่เกิน 1 เดือน นับถัดจากวัน SCOD เดิม
18. หากมีการลักลอบนำไฟฟ้าจากแหล่งอื่นมาจำหน่ายแทนไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแสงอาทิตย์จะมีผลอย่างไร
จะถือเป็นการละเมิดสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และเป็นผลให้สัญญาซื้อขายไฟฟ้านั้นสิ้นสุดลงโดยทันที รวมทั้งจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป นอกจากนี้ การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายจะเรียกเก็บค่าปรับในอัตรา 10,000 บาทต่อ kWp ของแผง และจะเรียกคืนค่าไฟฟ้าที่ได้รับจากการจำหน่ายไฟฟ้าเต็มจำนวนที่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายได้ชำระให้กับผู้ผลิตไฟฟ้าไปแล้ว นับตั้งแต่วันเริ่มจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date: COD)
Rooftop PV Fact Sheet | |||
1. เงินลงทุนในระบบ | 60,000 บาท/kWp | ||
2. ขนาดพื้นที่ที่ต้องการอย่างน้อย | 7 m2/kWp | ||
3. น้ำหนักของแผง | 83 kWh/kWp (12kg/m2) | ||
4. พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้เฉลี่ยต่อ 1kWp ของแผง | 1,300 kWh/kWo/y (หน่วยต่อปี) หรือ 108 kWh/kWo/m (หน่วยต่อเดือน) | ||
5. การสนับสนุน | บ้านอยู่อาศัย | อาคารธุรกิจขนาดเล็ก | อาคารธุรกิจขนาดกลาง-ใหญ่/โรงงาน |
อัตราค่าไฟฟ้า Feed In Tariff (บาท/หน่วย) | 6.96 | 6.55 | 6.16 |
ค่าไฟฟ้าที่ได้รับ (บาท/kWp/ปี) | 9,048 | 8,515 | 8,008 |
หมายเหตุ : ตัวเลขต่างๆ อ้างอิงจากสมมติฐานที่ใช้ในการคำนวณอัตรา FiT ซึ่งได้รับการเห็นชอบจากกพช. เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2556 อาจแตกต่างจากข้อเท็จจริงในปัจจุบันได้ แนวทางการยื่นแบบคำขอรับใบอนุญาตต่างๆและการเตรียมเอกสารหลักฐานประกอบ