International Forum

ERC Forum 2024 : Renewable and Sustainable Energy Transition

International Forums
23 พฤษภาคม 2567 , 12:00
275
0
0

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับนวัตกรรมพลังงานสะอาดอย่างยั่งยืนกับ
การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการด้านพลังงานระหว่างประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2567
(ERC Forum 2024) ระหว่างวันที่ 16 - 17 พฤษภาคม 2567
ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
จัดโดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน กกพ. และ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.)

Hosted Logo

ERC Forum 2024

ในปี 2567 กกพ. ได้มอบหมายให้สำนักงาน กกพ. จัดงาน ERC Forum 2024 ซึ่งเป็นการประชุมต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต่อยอดความร่วมมือ ด้านวิชาการกับหน่วยงานกำกับกิจการพลังงานและองค์กรต่าง ๆ ในระดับประเทศ ระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับสากล โดยกลุ่มเป้าหมายที่จะเชิญเข้าร่วมเป็นผู้แทนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและเอกชนในประเทศ องค์กรกำกับดูแลพลังงานระหว่างประเทศหรือ Energy Regulators Regional Association (ERRA) และประเทศสมาชิกของ ERRA องค์กรกำกับกิจการพลังงานจากประเทศสมาชิกอาเซียน และหน่วยงานด้านพลังงานระดับสากลทั้งภาครัฐและเอกชน

ทั้งนี้ กกพ. ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพและความสามารถของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการดำเนินงาน สร้างโอกาสและความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานอย่างเป็นธรรมในแต่ละประเทศ รวมถึงให้ข้อเสนอแนะเพื่อสร้างเครือข่ายและความร่วมมือระหว่างประเทศต่อไป เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนและพัฒนาภาคอุตสาหกรรมพลังงานในภูมิภาคเอเชียสู่การใช้พลังงานสะอาดร่วมกัน

ทำไมต้องเข้าร่วมงาน ERC Forum 2024?

ในยุคที่สภาวะของโลกและสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพของประชากรทั่วโลก หลายภาคส่วนได้หันมาเล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น ดังนั้นการประชุมสัมมนาฯ ในครั้งนี้ จะก่อให้เกิดการขับเคลื่อนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ร้อยละ 40 ภายในปี ค.ศ. 2030 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี ค.ศ. 2065 และรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อโลกที่ดีขึ้นและเป็นสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน

เนื่องจากประเทศไทยมีเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) ในปี ค.ศ. 2065 ตามที่รัฐบาลได้ประกาศไว้ที่งาน COP26 แต่กระนั้นยังมีความจำเป็นต้องอาศัย ความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการวางแผนพลังงานแห่งชาติ นอกจากนี้ประเทศไทยยังต้องการองค์กรที่สามารถให้ข้อมูลที่เป็นความจริงและเชื่อถือได้เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ความโปร่งใสจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการเร่งการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ตัวอย่างเช่น ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) ได้ริเริ่มโครงการวิจัยเพื่อศึกษาและสำรวจทางเลือกในการจัดตั้งหน่วยงานความรู้ด้านการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานที่เป็นธรรมของประเทศไทย (Think Tanks in Just Energy Transition)

ดังนั้นงาน ERC Forum 2024 จึงเป็นเวทีสำหรับการเสวนาเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับหน่วยงานด้านความรู้ระหว่างประเทศ ในหัวข้อหลัก "Renewable & Sustainable EnergyTransition"

Renewable & Sustainable EnergyTransition

Highlight ของงาน ERC Forum 2024

Energy Transition

รับฟังนโยบายการส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition)

เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานที่ยั่งยืนและเป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการกำกับกิจการพลังงานในช่วงเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน สร้างโอกาสในการปรับปรุงระบบโครงข่ายพลังงานของไทยให้ทันสมัยเพื่อรองรับการเชื่อมต่อพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น โดยจะต้องอาศัยแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานอย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ เพื่อใช้ประโยชน์จากพลังงานสะอาด โดยไม่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนค่าไฟฟ้าโดยรวม นอกจากนั้น ยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ไฟฟ้ามีส่วนร่วมในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน

Low Carbon Society

ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างประเทศให้เป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society)

ตามแผนปฏิบัติการการกำกับกิจการพลังงาน สอดคล้องกับนโยบาย 4D1E ของกระทรวงพลังงาน

ประเด็นสำคัญในงาน ERC Forum 2024

01 —

การเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้า (Electrification) ที่เพิ่มขึ้นของผู้ใช้พลังงานจะช่วยขับเคลื่อนการลดการปล่อยคาร์บอนของภาคพลังงานได้ในภาพรวม

02 —

การลดการปล่อยคาร์บอนของภาคการผลิตไฟฟ้าเป็นเงื่อนไขเบื้องต้น เป็นแกนหลักและสิ่งที่ทำให้การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนสามารถเกิดขึ้นได้

03 —

การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทยในปัจจุบัน มีศักยภาพในการแข่งขันทางด้านราคาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พลังงานแสงอาทิตย์จาก Solar PV เนื่องจากประเทศไทยมีระดับความเข้มข้นของแสงอาทิตย์ที่สูงตลอดปี และมีพื้นที่ที่เพียงพอในการติดตั้งอุปกรณ์

04 —

ในปี ค.ศ. 2030 ร้อยละ 60 ของการผลิตไฟฟ้าควรจะต้องมาจากพลังงานหมุนเวียนและเพิ่มเป็นร้อยละ 77 ในปี ค.ศ. 2037 และร้อยละ 85 ในปี ค.ศ. 2050

พิธีกร

การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการด้านพลังงานระหว่างประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2567
(ERC Forum 2024): Renewable & Sustainable Energy Transition

การสัมมนาที่ยกระดับนวัตกรรมด้านพลังงานอย่างยั่งยืนที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงของโลกเพื่อสิ่งที่ดีกว่าด้วยพลังงานทดแทน โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้คร่ำหวอดในวงการพลังงานจากหลากหลายองค์กร ที่จะมาร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ เพื่อทำให้เราได้เข้าใจถึงหลักการที่ดีที่จะสร้างสังคมคาร์บอนต่ำไปด้วย

พิธีกร
พิธีกร
พิธีกร
พิธีกร
คาร์บอนฟุตพรินต์

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน กกพ. เป็นหน่วยงานด้านการกำกับกิจการพลังงานซึ่งให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ โดยมุ่งเน้นให้ทุกภาคส่วนได้ตระหนักถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่มีการปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่าง ๆ ของทุกกาคส่วน ดังนั้น "เมื่อปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศสูงขึ้น นั่นหมายถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกในโลกก็มากเช่นกัน" กกพ. จึงมีความต้องการที่จะแนะนำให้ทุกภาคส่วนได้รู้จักกับรอยเท้าคาร์บอน หรือที่เราเคยได้ยินและคุ้นหูกันในคำว่า "คาร์บอนฟุตพรินต์"

  • Carbon Footprint
    (คาร์บอนฟุตพรินต์) หรือ รอยเท้าคาร์บอน คือปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่เกิดขึ้น จากการทํากิจกรรมของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อมที่ปล่อยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศโลกซึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนและภาวะโลกเดือดตามมา โดย กกพ. เน้นย้ําให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการวางแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อร่วมกันลดผลกระทบที่จะเกิดต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเริ่มต้นได้จากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้ทุกภาคส่วนบริโภคสินค้าที่มีฉลากรับรองปริมาณ Carbon Footprint ที่จะแสดงให้เห็นว่า ตลอดห่วงโซ่การผลิตของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาในปริมาณเท่าใด และนั่นทําให้การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มีมูลค่าที่นํามาซึ่งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในฝั่งของผู้ผลิต
  • Carbon Pricing
    ราคาคาร์บอน โดย Carbon Pricing เมื่อประชาคมโลกเริ่มตระหนักถึงความรุนแรงของภาวะโลกเดือด จึงได้มีการนํากลไกเชิงเศรษฐศาสตร์มาใช้คํานวณราคาคาร์บอน โดยคํานึงถึงต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิตหรือการให้บริการ ยิ่งสินค้าหรือบริการนั้นมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศมากเท่าใด สินค้าหรือบริการนั้น ๆ จําเป็นต้องจ่ายภาษีคาร์บอนเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น ซึ่งจะทําให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น “สินค้าราคาแพงขึ้น ปริมาณการซื้อก็อาจจะลดลง” ทําให้ผู้ผลิตตัดสินใจควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากยิ่งขึ้น จึงทําให้ก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศลดลงได้

    ทั้งนี้ หลายประเทศเริ่มมีการเก็บภาษีคาร์บอน ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนในการตระหนักรู้เรื่องการลดการสร้างคาร์บอน แต่เมื่อเกิดการเก็บกาษีคาร์บอนภายในประเทศ ก็เริ่มมีการย้ำชฐานการผลิตข้ามพรมแดน ทำให้สหภาพยุโรปกำหนดมาตรภารการปรับคาร์บอนข้ามพรบแดนขึ้นขึ้นภายใต้ชื่อ Carbon Border Adiustment Mechanism (CBAM) ซึ่งป้องกันการรั่วไหลของการปล่อยคาร์บอนบอกพรมแดน โดยกำหนดว่าจะมีกาจะมีการเก็บกาษีคาร์บอนกับสินค้าที่ส่งเข้ามาภายในทวีปยุโรป ในเบื้องต้นบังคับใช้สำหรับ สินค้ากลุ่มแรก ได้แก่ ไฟฟ้า ปุ๋ย ซึเมนต์ ละลูมิเนียม เหล็ก/เหล็กกล้า และโฮโดรเจน โดยอเมริกาเป็นทวีปถัดไปที่เล็งเห็นที่ความสำคัญของมาตรการนี้ และกำลังจะดำเนินการเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยก็กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการให้กรมสรรพสามิตจัดทำโครงสร้างภาษีคาร์บอนให้เป็นมาตรฐานสากล และในปัจจุบันมากกว่า 30 ประเทศทั่วโลกเริ่มมีการจัดเก็บภาษีคาร์บอนทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งจะเห็นได้ว่ามาตรการนี้สามารถกระตุ้นให้เกิดความตระหนัก การผลิตและการใช้พลังงานสะอาดเพิ่มขึ้น

    เมื่อโลกเข้าสู่ภาวะแปรปรวน มาตรการเหล่านี้อาจนำไปสู่การสร้างจิตสำนึกและการปรับปลื่ยนพฤติกรรมการใช้พลังงานร่วมกันทั้งด้านผู้ผลิตและด้านผู้อุปโภคบริโภค ให้คำนึกถึงสิ่งเวดล้อม ดังนั้นในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยต้องเริ่มปรับตัวเพื่อเดินทางไปสู้เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)
ERC Forum 2024
วิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศทั่วโลก ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดํารงชีวิตของมนุษยชาติ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความเป็นอยู่ คุณภาพชีวิต หรือแม้กระทั่ง
    เศรษฐกิจโลก

วิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศทั่วโลก ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดํารงชีวิตของมนุษยชาติ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความเป็นอยู่ คุณภาพชีวิต หรือแม้กระทั่งเศรษฐกิจโลก

ERC Forum 2024

คณะกรรมการกํากับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะหน่วยงานการกํากับดูแลกิจการพลังงาน ได้ส่งเสริมให้เกิดการใช้ไฟฟ้าสะอาดที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นทั้งในภาคครัวเรือน ธุรกิจ และอุตสาหกรรม ประกอบกับในปัจจุบันสถาบันการเงินต่าง ๆ ได้ออกผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินสีเขียว เพื่อความยั่งยืน (Green and Sustainable Finance) เพื่อสนับสนุนการดําเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยให้ประเทศของเรามุ่งไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission)

เครื่องมือทางการเงินที่ส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนเป็นเทรนด์ที่กําลังได้รับความสนใจทั่วโลก และได้ถูกหยิบยกขึ้นมาใช้กันอย่างแพร่หลาย เริ่มต้นจากประเทศในกลุ่มยุโรปตะวันตก และสหรัฐอเมริกา จุดประสงค์เพื่อกระตุ้นและช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตสนใจในการลงทุนด้านเทคโนโลยีเพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และให้ธุรกิจเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องบอกว่าประเทศไทยเริ่มตื่นตัวกับเทรนด์นี้ ทําให้ภาคการธนาคารของไทยเริ่มมีการสนับสนุนธุรกิจที่ใช้พลังงานสะอาดและกลุ่มธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยตัวอย่างของเครื่องมือทางการเงินสีเขียว เช่น ตราสารหนี้สีเขียว สินเชื่อสีเขียว กองทุนรวมตราสารทุนสีเขียว หรือแม้กระทั่งประกันภัยสีเขียว เป็นต้น

กกพ. ส่งเสริมการดําเนินธุรกิจเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานโดยการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และใช้พลังงานสะอาดเพิ่มขึ้น เพื่อให้เกิดความยั่งยืน แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีความท้าทายในการพิจารณาว่าโครงการใดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย และสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ จึงได้ดําเนินการจัดทํามาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คํานึงถึงสิ่งแวดล้อม (Thailand Taxonomy) เพื่อใช้อ้างอิงสําหรับประเทศไทย โดยแบ่งกิจกรรมต่าง ๆ ออกเป็น 3 ระดับสี ตามระบบสัญญาณไฟจราจร โดยคํานึงถึงผลกระทบของการดําเนินกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม คือ สีเขียว สีเหลือง และสีแดง ซึ่งสีเขียว หมายถึง กิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ หรือพลังงานลม เป็นต้น สีเหลือง หมายถึง กิจกรรมที่อยู่ระหว่างปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในอนาคต เช่น พลังงานไฟฟ้าชีวภาพ และสีแดง หมายถึง กิจกรรมที่ไม่สอดคล้องกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน ระบบการขนส่งที่ยังมีการปล่อยไอเสีย เป็นต้น โดยในระยะที่ 1 จะมุ่งเน้นในส่วนของภาคพลังงาน และภาคการขนส่ง และในระยะที่ 2 จะมุ่งเน้นในส่วนของภาคอุตสาหกรรมการผลิต ภาคการเกษตร ภาคก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ และภาคการจัดการของเสีย ซึ่งการจําแนกประเภทกิจกรรมตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในประเทศไทยนั้นเป็นการช่วยส่งเสริมให้สถาบันการเงินมีแนวทางเพื่อออกตราสารทางการเงินสําหรับการดําเนินกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสําคัญของการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานอย่างยั่งยืนอีกด้วย

img img
BG

Presentation Handouts

No.
Presentation Handouts
PDF

Day 1 (Thursday, 16th May 2024)

1

Session 1: Global Update on Energy Trends towards Carbon Neutrality and Net Zero

ช่วงที่ 1 : อัพเดตแนวโน้มพลังงานโลกเพื่อก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ 

Download

2
Session 2: International Outlook for Energy Transition in USA/Europe/Japan
ช่วงที่ 2 : ความคาดหวังของนานาประเทศเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านด้านพลักงาน ในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น

Download

3.1
Session 3.1: Thailand Highlights – Energy Policy and Regulation to Mobilize Energy Transition

ช่วงที่ 3.1 : ไฮไลท์ประเทศไทย – นโยบายและการกำกับดูแลด้านพลังงานที่จะช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน

Download

3.2

Session 3.2: Asian Highlights – Energy Policy and Regulation to Mobilize Energy Transition

ช่วงที่ 3.2 : ไฮไลท์เอเชีย -- นโยบายและการกำกับดูแลด้านพลังงานที่จะช่วยชับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน

Download


Download

Day 2 (Friday, 17th May 2024)
1
Session 1: International Cooperation in Energy Transition
ช่วงที่ 1 : ความร่วมมือระหว่างประเทศในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน

Download

2

Session 2: Future Technology Trends towards Energy Transition

ช่วงที่ 2 : แนวโน้มเทคโนโลยีในอนาคตเพื่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน

Download

3

Session 3: Green and Sustainable Financing Instruments 

ช่วงที่ 3 : เครื่องมือทางการเงินสำหรับธุรกิจสีเขียวเพื่อความยั่งยืน

Download

มัลติมีเดีย

วันที่ 1: 16 พฤษภาคม 2567

Session 1:

Global Update on Energy Trends towards Carbon Neutrality and Net Zero

ช่วงที่ 1 : อัพเดตแนวโน้มพลังงานโลกเพื่อก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

Session 2:

International Outlook for Energy Transition in USA/Europe/Japan

ช่วงที่ 2 : ความคาดหวังของนานาประเทศเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านด้านพลักงาน ในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น

Session 3.1:

Thailand Highlights – Energy Policy and Regulation to Mobilize Energy Transition

ช่วงที่ 3.1 : ไฮไลท์ประเทศไทย – นโยบายและการกำกับดูแลด้านพลังงานที่จะช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน

Session 3.2:

Asian Highlights – Energy Policy and Regulation to Mobilize Energy Transition

ช่วงที่ 3.2 : ไฮไลท์เอเชีย – นโยบายและการกำกับดูแลด้านพลังงานที่จะช่วยชับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน

วันที่ 2: 17 พฤษภาคม 2567

Session 1:

International Cooperation in Energy Transition

ช่วงที่ 1 : ความร่วมมือระหว่างประเทศในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน

Session 2:

Future Technology Trends towards Energy Transition

ช่วงที่ 2 : แนวโน้มเทคโนโลยีในอนาคตเพื่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน

Session 3:

Green and Sustainable Financing Instruments

ช่วงที่ 3 : เครื่องมือทางการเงินสำหรับธุรกิจสีเขียวเพื่อความยั่งยืน

Embed
คัดลอกสำเร็จ